“You cannot understand good design if you do not understand people ; Design is made for people.”
การออกแบบออฟฟิศเฟอร์นิเจอร์นั้นต้องเริ่มศึกษากันตั้งแต่พฤติกรรมการนั่ง การยืน การทำงาน ว่ามีลักษณะการทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งเรียกว่าเป็นกระบวนการศึกษาพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ รวมไปถึงสัดส่วนที่เหมาะสมในการใช้งานด้วย ซึ่งผมก็มีสัดส่วนมาตรฐานของออฟฟิศคร่าว ๆ มาสรุปให้ ดังนี้
- มาตรฐานของเก้าอี้ออฟฟิศ หากวัดจากขนาดรวมทั้งหมด (รวมขาและล้อ) 72 * 72
**แต่หากวัดเฉพาะเบาะและพนักพิงหลัง 50 * 55 โดยเมื่อรวมพนักพิงจะยาวกว่าด้านกว้าง
- มาตรฐานของโต๊ะออฟฟิศ ใหญ่ 100 * 60 / 120 * 60 / 160 * 60 ซม.
- มาตรฐานของตู้เอกสาร 45 - 40 * 80 ซม.
- โต๊ะประชุม 120 / 150 / 180 / 200 / 240 * 90 -100 ซม.
***หมายเหตุ มาตรฐานนี้สำหรับ มอก. ภายในประเทศไทยเท่านั้น
ว่าด้วยเรื่องของความสัมพันธ์ของ คน เฟอร์นิเจอร์ ออฟฟิศ ก็เป็นสิ่งสำคัญ สัดส่วนเป็นตัวกำหนดเฟอร์นิเจอร์ออฟฟิศ มาตรฐานสัดส่วนของสิ่งเหล่านี้เป็นเคล็ดลับของดีไซเนอร์ที่ทำให้การนั่ง หรือใช้งานได้สะดวกสบาย และส่งเสริมบริบทในการทำงานได้ดี จึงมีมาตรฐานของเฟอร์นิเจอร์ที่กำหนดประมาณนี้
เมื่อทราบสัดส่วนมาตรฐานของออฟฟิศเฟอร์นิเจอร์แล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างนึงนั่นก็คือ การศึกษาพฤติกรรมการทำงานครับ การทำงานแบบไหนท่ี่ช่วยส่งเสริมการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ก็เป็นหน้าที่ของนักออกแบบที่จะต้องหาวิธีการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้ ซึ่งผมขอให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงานทั่ว ๆ ไปของผู้ใช้ดังนี้ครับ
สามารถหาได้ง่ายโดยการวาดมือไปบนโต๊ะขณะที่ศอกชิดลำตัวเป็นรูปครึ่งวงกลม (ดังภาพที่1) ระยะจากศอกถึงบริเวณข้อนิ้วที่เมื่อกำมือแล้วหยิบของได้พอดี จะยาวประมาณ 35-45 ซม. เมื่อวาดเป็นครึ่งวงกลมจะได้ระยะเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 70-90 ซม. เมื่อรวมระยะเส้นผ่าศูนย์กลางของครึ่งวงกลม ของแขนอีกข้าง รวมกับระยะที่ทับซ้อนด้วย จะได้ระยะทำงานใกล้ตัวประมาณ 100-130 ซม. ตามที่ได้กล่าวมาว่า ระยะที่เอื้อมจะให้ใช้ระยะของคนตัวเตี้ย จึงใช้ค่าน้อยเป็นหลัก ดังนั้นระยะทำงานหลักของพื้นที่ทำงานใกล้ตัวจะประมาณ 100 ซม. ส่วนความ ลึกนั้น เมื่อหักจากการที่ข้อศอกไม่ได้วางอยู่บนโต๊ะโดยตรง จะเหลือระยะในพื้นที่ที่ทำงานในส่วนลึกประมาณ 25 ซม.
เป็นพื้นที่ถัดไป แนวพื้นที่จะเป็นรัศมีของแขนที่เหยียดยาวออก (ดังภาพที่1) ในทำนองเดียวกับข้อ 1 แต่เปลี่ยนมา เป็นระยะที่เหยียดแขน จะทำให้ความกว้างของโต๊ะประมาณ 160 เซนติเมตร และมีความลึกที่ 50 เซนติเมตร
อาจมีขนาดเพิ่ม จากขนาดที่กล่าวตามข้อ 1 และ 2 แต่ต้องเข้าใจว่าพื้นที่ ที่เพิ่มขึ้นมานั้นก็เพื่อการวางของ
สามารถทำได้โดยออกแบบให้โต๊ะทำงานอยู่ในรูปตัว L ซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะหมุนเก้าอี้ และหยิบของบนพื้นที่ของโต๊ะได้ง่าย
อุปกรณ์ เช่น เมาส์ แป้นพิมพ์ โทรศัพท์ ปากกา ดินสอ และอุปกรณ์สำนักงานอีกหลายชนิด เป็นอุปกรณ์ ที่ใช้บ่อย การจัดวางอุปกรณ์ที่ใช้บ่อยมีหลักการง่าย ๆ ดังนี้ (ภาพที่ 2)
ควรอยู่บริเวณพื้นที่ใกล้ขอบโต๊ะซ้ายหรือขวาใกล้ตัวผู้ใช้ไม่ควรให้อยู่ ลึกเข้าไปบนโต๊ะ เพราะการเอื้อมหยิบของหนักมีผลทำให้ไหล่ต้องทำงานหนัก และแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลังมากขึ้น ดังนั้นเวลาจะหยิบใช้สามารถลุกขึ้นยืนหรือเลื่อนเก้าอี้เข้าใกล้ซึ่งจะสะดวกแก่การหยิบได้
เพราะการเอื้อมหยิบสามารถทำได้ โดยมีผลต่อไหล่และหลังไม่มากนัก
เช่น ถ้าต้องอ่านแล้วพิมพ์หรือเขียน ให้วางงานที่ต้องอ่านไว้ด้านซ้าย และอุปกรณ์ที่ใช้เขียนหรือพิมพ์ อยู่ตรงกลาง เพราะลักษณะของภาษาไทยต้องอ่านจากซ้ายมาขวา เวลาเขียนหรือพิมพ์ ก็จากซ้ายมาขวาเช่นกัน
เช่น ถ้าใช้มือขวาเป็นหลัก อุปกรณ์ในการเขียน โทรศัพท์ อุปกรณ์ที่ใช้มือขวา ควรวางไว้ด้านขวา
บนชั้นหรือตู้ ที่ใช้เก็บของหรือเอกสารในการทำงาน ก็มีความสำคัญในการจัดวางเช่นกัน โดยพิจารณาได้ ดังนี้ (ภาพที่2)
1. ความสูงของชั้นต้องถูกออกแบบสำหรับคนตัวเตี้ย เพราะตำแหน่งที่คนตัวเตี้ยเอื้อมถึง คนตัวสูงก็เอื้อมถึงเช่นกัน ถ้าต้องใช้บันไดจะมีผลเรื่องของความปลอดภัยและไม่สะดวกในการทำงาน
2. ของที่ใช้บ่อยควรวางในชั้นที่มีความสูงที่ระดับเอวถึงระดับสายตา
3. ของที่มีน้ำหนักมากควรอยู่ในชั้นระดับเอวหรือ ต่ำกว่านั้นลงมาเล็กน้อยแต่ไม่ต่ำกว่าระดับกำปั้นในขณะกำมือยืนตรงแขนอยู่แนบกับลำตัวหรือถ้าหนักมาก ๆ จนไม่สามารถยกได้ ก็ให้อยู่ในระดับต่ำสุด เพื่อสะดวกต่อการดึงลาก
4. ของที่น้ำหนักเบาอาจไว้ในชั้นบนสุดได้
ความสุขสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกชั่วขณะการทำงาน อาจจะเป็นความสุขพอสังเกตที่เกิดจากการทำงานที่เรารัก หรือบรรยากาศของการทำงานที่ส่งผลต่อจิตใจ รวมไปถึงเพื่อนร่วมงานที่น่ารัก ก็เป็นได้ เพราะความสุขของคนเรานั้นอยู่รอบตัวเราเพียงแค่เราพอใจกับเวลาปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เล็กหรือสิ่งที่ใหญ่ก็ตาม
คุยกันต่อได้ที่
Facebook : Perfect working solution
Youtube : PERFECT Group
Blog : Perfect Working Solution
กรอกข้อมูลเพื่อรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ กับ Perfect working solution ได้ที่นี่ คลิก