เคล็ดลับง่าย ๆ ทำงานไม่พลาด แถมมีประสิทธิภาพ เพียงแค่รู้จักการจัดวางของบนโต๊ะทำงาน
Share this :


เคล็ดลับง่าย ๆ ทำงานไม่พลาด แถมมีประสิทธิภาพ

เพียงแค่รู้จักการจัดวางของบนโต๊ะทำงาน

       โต๊ะทำงานประกอบไปด้วยเครื่องมือหลัก ๆ เลยก็คือ คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และเมาส์ และบางคนยังมีอุปกรณ์อีกจำนวนหนึ่งที่วางอยู่บนโต๊ะคอม ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น บางชิ้นก็ใช้นาน ๆ ครั้ง จึงต้องมีการจัดวางอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นให้เกิดเหมาะสม เพราะจะทำให้สะดวกและเต็มที่ในการทำงานมากขึ้น

       ซึ่งขนาดของโต๊ะทำงานถูกออกแบบมารองรับการใช้งานของผู้ใช้ ด้วยสัดส่วนที่เหมาะสมตามการใช้งาน เช่น กรณีที่ต้องทำงานร่วมกันหลายคน หรือทำงานคนเดียวแต่ต้องมีพื้นที่การทำงานเยอะ มีเอกสารเยอะ ก็ต้องมีตู้เก็บเอกสาร ขนาดความสูงของโต๊ะจะถูกออกแบบให้คนตัวสูงเป็นหลัก เพราะตามหลักการคนสูงไม่สามารถสอดขา เข้านั่งได้ถ้าโต๊ะนั้นเตี้ย ส่วนความสูงของชั้นวางของที่อาจมีประกอบเข้ามาในโต๊ะบางตัว ความลึกของโต๊ะและความสูงของชั้นวางนั้นจะต้องถูกออกแบบให้คนที่เตี้ยหรือคนที่มีแขนสั้น เหตุผลเพราะคนตัวสูงแขนยาวสามารถหยิบของได้ในทุกจุด (ถ้าโต๊ะนั้นออกแบบให้คนตัวสูง)


เคล็ดลับสู่ความสำเร็จง่าย ๆ
เพียงแค่รู้จักการจัดวางของบนโต๊ะ ด้วยหลักการง่าย ๆ ดังนี้


  1. ของที่ใช้งานบ่อยเอาไว้ใกล้ตัว เช่น พนักงานรับโทรศัพท์ต้องรับโทรศัพท์ตลอดเวลา ตำแหน่งของโทรศัพท์ควรอยู่ในพื้นที่ทำงานนี้
  2. หากอุปกรณ์นั้นมีน้ำหนักเบา และใช้บ่อย แต่ไม่ถึงขนาดบ่อยมาก เช่น ปากกา และอุปกรณ์สำนักงานบางอย่าง อาจวางไว้ในพื้นที่ครึ่งวงกลมหยิบเอื้อมได้ โดยไม่ต้องลุกยืนเพราะเวลาจะใช้สามารถเอื้อมหยิบได้โดยไม่มีผลกระทบต่อกล้ามเนื้อและข้อต่อไหล่
  3. อุปกรณ์ที่หนักแม้ไม่ใช้บ่อย ควรอยู่บริเวณพื้นที่ใกล้ขอบโต๊ะซ้ายหรือขวาใกล้ตัวผู้ใช้ไม่ควรให้อยู่ ลึกเข้าไปบนโต๊ะ เพราะการเอื้อมหยิบของหนักมีผลทำให้ไหล่ต้องทำงานหนัก และแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลังมากขึ้น ดังนั้นเวลาจะหยิบใช้สามารถลุกขึ้นยืนหรือเลื่อนเก้าอี้เข้าใกล้ซึ่งจะสะดวกแก่การหยิบได้
  4. ของที่เบาแต่ขนาดใหญ่สามารถวางไว้บนส่วนลึกด้านในของโต๊ะได้ เพราะการเอื้อมหยิบสามารถทำได้ โดยมีผลต่อไหล่และหลังไม่มากนัก
  5. การจัดวางควรให้เหมาะกับลำดับของการทำงาน เช่น ถ้าต้องอ่านแล้วพิมพ์หรือเขียน ให้วางงานที่ต้องอ่านไว้ด้านซ้าย และอุปกรณ์ที่ใช้เขียนหรือพิมพ์ อยู่ตรงกลาง เพราะลักษณะของภาษาไทยต้องอ่านจากซ้ายมาขวา เวลาเขียนหรือพิมพ์ ก็จากซ้ายมาขวาเช่นกัน
  6. วางอุปกรณ์ตามการใช้งานของมือ เช่น ถ้าใช้มือขวาเป็นหลัก อุปกรณ์ในการเขียน โทรศัพท์ อุปกรณ์ที่ใช้มือขวา ควรวางไว้ด้านขว
  7. ความสูงของชั้นต้องถูกออกแบบสำหรับคนตัวเตี้ย เพราะตำแหน่งที่คนตัวเตี้ยเอื้อมถึง คนตัวสูงก็เอื้อมถึงเช่นกัน ถ้าต้องใช้บันไดจะมีผลเรื่องของความปลอดภัยและไม่สะดวกในการทำงาน
  8. ของที่ใช้บ่อยควรวางในชั้นที่มีความสูงที่ระดับเอวถึงระดับสายตา
  9. ของที่มีน้ำหนักมากควรอยู่ในชั้นระดับเอวหรือ ต่ำกว่านั้นลงมาเล็กน้อยแต่ไม่ต่ำกว่าระดับกำปั้นในขณะกำมือยืนตรงแขนอยู่แนบกับลำตัวถ้าหนักมาก ๆ จนไม่สามารถยกได้ ก็ให้อยู่ในระดับต่ำสุด เพื่อสะดวกต่อการดึงลาก


--------------------------------

คุยกันต่อได้ที่

Facebook : Perfect working solution

Youtube : PERFECT Group

Blog : Perfect Working Solution

กรอกข้อมูลเพื่อรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ กับ Perfect working solution ได้ที่นี่ คลิก